เกม Bibli-Omino

การ์ดที่มีอยู่ในเกม Bibli-Omino แบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม และมีคุณสมบัติ ดังนี้

การ์ดผู้แต่ง
ผู้แต่งทั่วไป – สามารถใช้การ์ดนี้ได้ทันที
ผู้แต่งที่มีตำแหน่งหน้าที่ – จะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมีการ์ดตัด (ยางลบ) ควบคู่ด้วยเสมอ
ผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ (ราชทินนาม) – จะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมีการ์ดตัด (สลับที่) ควบคู่ด้วยเสมอ
ผู้แต่งที่มีทั้งตำแหน่งหน้าที่ และฐานันดรศักดิ์ – จะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมีการ์ดตัด (ยางลบ) และ การ์ดตัด (สลับที่) ควบคู่ด้วยเสมอ
การ์ดปีเผยแพร่
ปี พ.ศ. ที่เผยแพร่ – สามารถใช้การ์ดนี้ได้กับบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น
เดือนและปี พ.ศ. ที่เผยแพร่ – สามารถใช้การ์ดนี้ได้กับบรรณานุกรมที่เป็น บทความวารสาร และ เว็บไซต์
หากผู้เล่นมีการ์ดเชื่อมโยง (ม.ป.ป.) สามารถใช้ทดแทนการ์ดปีเผยแพร่ได้
การ์ดชื่อหนังสือ/ชื่อวารสาร
เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “ชื่อหนังสือ” ซึ่งสามารถใช้ควบคู่การ์ดตัด (อักษรตัวเอียง) มาทำให้ข้อมูลถูกต้องขึ้นได้
เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “ชื่อวารสาร” ซึ่งสามารถใช้ควบคู่การ์ดตัด (อักษรตัวเอียง) มาทำให้ข้อมูลถูกต้องขึ้นได้
การ์ดชื่อบทความ
เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “ชื่อบทความ” สามารถใช้การ์ดนี้กับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น บทความวารสาร หรือ เว็บไซต์ ได้ทันที
การ์ดปีที่/ฉบับที่
เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “ปีที่” และ “ฉบับที่” ที่มีการเผยแพร่ สามารถใช้การ์ดนี้กับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น บทความวารสาร เท่านั้น
การ์ดครั้งที่พิมพ์
เป็นการ์ดที่บอกถึง “จำนวนครั้งที่พิมพ์เผยแพร่” สามารถใช้การ์ดนี้กับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น
การ์ดจังหวัด
เป็นการ์ดที่ให้ข้อมูล “สถานที่พิมพ์” โดยสำหรับบรรณานุกรมภาษาไทยให้ระบุเป็นชื่อจังหวัด สามารถใช้การ์ดนี้กับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น

หากผู้เล่นมีการ์ดเชื่อมโยง (ม.ป.ท.) สามารถใช้ทดแทนการ์ดจังหวัดได้
การ์ดสำนักพิมพ์
โรงพิมพ์ – การเขียนบรรณานุกรมจะใช้เฉพาะชื่อของโรงพิมพ์เท่านั้น ยกเว้น โรงพิมพ์ที่เป็นของหน่วยงานราชการ ซึ่งในเกมนี้สมมุติว่า “โรงพิมพ์ที่เป็นของหน่วยงานราชการ” สามารถใช้การ์ดนี้ได้ทันที
สำนักพิมพ์ – การเขียนบรรณานุกรมจะใช้เฉพาะชื่อของสำนักพิมพ์เท่านั้น ดังนั้นจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมีการ์ดตัด (ยางลบ) ควบคู่ด้วยเสมอ
บริษัท .. จำกัด – การเขียนบรรณานุกรมจะใช้เฉพาะชื่อของสำนักพิมพ์เท่านั้น ดังนั้นจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมีการ์ดตัด (ยางลบ) ควบคู่ด้วยเสมอ
ห้างหุ้นส่วน .. จำกัด (มหาชน) – การเขียนบรรณานุกรมจะใช้เฉพาะชื่อของสำนักพิมพ์เท่านั้น ดังนั้นจะใช้การ์ดนี้ได้ ต้องมีการ์ดตัด (ยางลบ) ควบคู่ด้วยเสมอ
                    
หากผู้เล่นมีการ์ดเชื่อมโยง (ม.ป.พ.) สามารถใช้ทดแทนการ์ดสำนักพิมพ์ได้
การ์ดเลขหน้า
เป็นการ์ดที่บอก “ช่วงของเนื้อหา” ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น บทความวารสาร เท่านั้น
การ์ด URL
เป็นการ์ดที่ระบุถึง “URL” ซึ่งเป็นที่ตั้งของเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น เว็บไซต์ เท่านั้น
การ์ดพิเศษ
และ – เป็นการ์ดที่ใช้สำหรับเชื่อมการ์ดผู้แต่งที่มี 2 คน โดยสามารถใช้เชื่อมระหว่างผู้แต่งก่อนคนสุดท้าย และ ผู้แต่งคนสุดท้าย
, (จุลภาค หรือ ลูกน้ำ)– เป็นการ์ดที่ใช้สำหรับเชื่อมการ์ดผู้แต่งที่มีมากกว่า 2 คนขึ้นไป โดยสามารถใช้เชื่อมระหว่างผู้แต่งคนแรก ไปจนถึงผู้แต่งก่อนคนสุดท้าย นอกจากนี้ , ยังใช้เชื่อมการ์ดชื่อวารสาร และใช้เชื่อมการ์ดปีที่/ฉบับที่ ได้อีกด้วย
: (ทวิภาค หรือ โคลอน) – เป็นการ์ดที่ใช้สำหรับเชื่อมการ์ดจังหวัด และ การ์ดสำนักพิมพ์
ม.ป.ป. – เป็นการ์ดที่ใช้ทดแทนการ์ดปีเผยแพร่ กรณีที่ไม่สามารถระบุปีที่เผยแพร่ได้แน่นอน
ม.ป.ท. – เป็นการ์ดที่ใช้ทดแทนการ์ดจังหวัด กรณีที่ไม่สามารถระบุจังหวัดที่ตั้งสำนักพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่ได้แน่นอน ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น
ม.ป.พ. – เป็นการ์ดที่ใช้ทดแทนการ์ดสำนักพิมพ์ กรณีที่ไม่สามารถระบุสำนักพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่ได้แน่นอน ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น หนังสือ เท่านั้น
เข้าถึงได้จาก – เป็นการ์ดที่ใช้เชื่อมระหว่างการ์ดชื่อบทความ และการ์ด URL ใช้สำหรับการเขียนบรรณานุกรมที่เป็น เว็บไซต์ เท่านั้น
ยางลบ – เป็นการ์ดที่ใช้ควบคู่กับการ์ดผู้แต่งที่มีตำแหน่งหน้าที่ เพื่อตัดตำแหน่งหน้าที่ออก ใช้เพียงชื่อ นามสกุลเท่านั้น
สลับที่ – เป็นการ์ดที่ใช้ควบคู่กับการ์ดผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ เป็นการสลับที่เอาชื่อ นามสกุลขึ้นหน้า คั่นด้วยเครื่องหมาย , แล้วจึงตามด้วยฐานันดรศักดิ์
ตัวอักษรเอียง – เป็นการ์ดที่ใช้ควบคู่กับการ์ดชื่อหนังสือ หรือ การ์ดชื่อวารสาร เพื่อทำให้ทราบว่าข้อมูลนั้น ๆ เป็นชื่อหนังสือ หรือ ชื่อวารสาร

เกม Bibli-Omino จะชวนให้ผู้เรียนเรียนรู้การเขียนอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศ 3 ประเภท ได้แก่

หนังสือ
          กรณีผู้แต่ง 1 คน
          | ผู้แต่ง. (ปีเผยแพร่). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). จังหวัด : สำนักพิมพ์.
          กรณีผู้แต่ง 2 คน
          | ผู้แต่ง1 และ ผู้แต่ง2. (ปีเผยแพร่). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). จังหวัด : สำนักพิมพ์.
          กรณีผู้แต่งมากกว่า 2 คน
          | ผู้แต่ง1, ผู้แต่ง2, ..  และ ผู้แต่งคนสุดท้าย. (ปีเผยแพร่). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). จังหวัด : สำนักพิมพ์.
          กรณีไม่ปรากฏข้อมูลผู้แต่ง
          | ชื่อหนังสือ. (ปีเผยแพร่). (ครั้งที่พิมพ์). จังหวัด : สำนักพิมพ์.
บทความวารสาร
          กรณีผู้แต่ง 1 คน
          | ผู้แต่ง. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
          กรณีผู้แต่ง 2 คน
          | ผู้แต่ง1 และ ผู้แต่ง2. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
          กรณีผู้แต่งมากกว่า 2 คน
          | ผู้แต่ง1, ผู้แต่ง2, ..  และ ผู้แต่งคนสุดท้าย. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
          กรณีไม่ปรากฏข้อมูลผู้แต่ง
          | ชื่อบทความ. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
เว็บไซต์
          กรณีผู้แต่ง 1 คน
          | ผู้แต่ง. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. เข้าถึงได้จาก URL
          กรณีผู้แต่ง 2 คน
          | ผู้แต่ง1 และ ผู้แต่ง2. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. เข้าถึงได้จาก URL
          กรณีผู้แต่งมากกว่า 2 คน
          | ผู้แต่ง1, ผู้แต่ง2, ..  และ ผู้แต่งคนสุดท้าย. (เดือน ปีเผยแพร่). ชื่อบทความ. เข้าถึงได้จาก URL
          กรณีไม่ปรากฏข้อมูลผู้แต่ง
          | ชื่อบทความ. (เดือน ปีเผยแพร่). เข้าถึงได้จาก URL